“ท็อป จรณ” ฝ่ามรสุมชีวิต เผยอาการป่วยต้องหยุดรับงานและเสี่ยงซึมเศร้า

“นุ๊ก สุทธิดา” สุดสตรอง! เผยสิ่งที่ต้องเผชิญโรคมะเร็งไทรอยด์และซึมเศร้า ลูก-สามีคือกำลังใจ

“ดีเจต้นหอม” เผชิญโรคผิวหนังประหลาด 10 ปี แพทย์ชี้! “โรคมอร์เฟีย” พบได้เพียง 3 ใน 1 แสนคน

นักแสดงหนุ่มมากความสามารถ “ท็อป – จรณ โสรัตน์” แขกรับเชิญคนล่าสุดของรายการ Rise & Shine ชีวิตดีเริ่มที่ตัวเรา” ทาง พีพีทีวี ช่อง 36 เปิดใจถึงชีวิตการทำงานหลังก้าวสู่บทบาทใหม่ในฐานะนักแสดงอิสระ

พร้อมเล่าถึงช่วงมรสุมชีวิตที่ป่วยเป็น โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทขั้นรุนแรง ต้องรักษาตัวนานถึงกว่า 2 เดือนส่งผลให้สภาพจิตใจย่ำแย่เพราะต้องพักงานแสดงคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

 “ท็อป จรณ” ฝ่ามรสุมชีวิต เผยอาการป่วยต้องหยุดรับงานและเสี่ยงซึมเศร้า

ต้องงดออกกำลังกาย รวมทั้งต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ จนเกือบทำให้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นมาอีกโรคหนึ่ง

โดยหนุ่ม “ท็อป” จรณ เปิดเผยในรายการว่า อาการป่วยที่เกิดขึ้นกับตนนั้น เกิดขึ้นระหว่างถ่ายทำซีรีส์แอ็กชันเรื่องหนึ่งอยู่ โดยเริ่มมีอาการปวดบริเวณต้นคอ จึงทานยาคลายกล้ามเนื้อ และยังออกกำลังกายตามปกติหลังจากนั้นเกิดอาการปวดรุนแรง จึงรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที คุณหมอแนะนำให้ผมหยุดออกกำลังกายทุกประเภทก่อน ตอนนั้นผมก็ยอมรับว่าเคว้งคว้างเหมือนกัน จนเกือบจะกลายเป็นโรคซึมเศร้า เพราะไม่ได้ออกกำลังกายเลย แต่เพื่อสุขภาพที่ดี ผมก็ต้องปฏิบัติตัวตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัดครับ”

ด้าน นายแพทย์ชลัท วินมูน ศัลยแพทย์ชำนาญการโรคกระดูกและข้อ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท กล่าวว่าสาเหตุที่ทำให้กระดูกทับเส้นประสาทในส่วนคอประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ หมอนรองกระดูกเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น ทำให้เสียความยืดหยุ่น และทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่เร็วและรุนแรงเกินไปจากการเล่นกีฬา เป็นต้น อาจทำให้เกิดภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อน รวมถึงไส้ในหมอนรองกระดูกฉีกขาดได้

โดยอาการหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทขึ้นอยู่กับการเคลื่อนของหมอนรองกระดูก รวมถึงขนาดของโพรงประสาทของแต่ละคน หากเกิดภาวะกดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวด หรือมีความรู้สึกชาบริเวณที่เส้นประสาทถูกกดทับ กรณีถ้าอาการหนักมากอาจส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และลีบเล็กลงเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่โรคหมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพมักพบมากในกลุ่มผู้มีอายุ 30 ปีขึ้นไป รวมถึงกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายแบบรวดเร็วและรุนแรง

ส่วนวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ หากผู้ป่วยมีอาการไม่มากนัก แพทย์จะใช้วิธีการรักษาด้วยการให้ยาบรรเทาอาการควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัด แต่ถ้าคนไข้มีภาวะการกดทับเส้นประสาทขั้นรุนแรง แพทย์จะแนะนำให้คนไข้เข้ารับการผ่าตัด เพื่อนำเนื้อในส่วนที่ถูกกดทับเส้นประสาทออกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

ติดตามชมเรื่องราวจากประสบการณ์ตรงของพระเอกหนุ่ม “ท็อป จรณ” พร้อมคำแนะนำในการดูแลรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเครือ BDMS ในรายการ “Rise & Shine ชีวิตดีเริ่มที่ตัวเรา” วันเสาร์ที่ 9 กันยายน นี้ เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ทางพีพีทีวี ช่อง 36

สรุปรางวัลยอดเยี่ยมวอลเลย์หญิงชิงแชมป์เอเชีย AVC 2023 ทีมไทย คว้า 3 รางวัล

“กำแพงเมืองจีนเป็นรู” หลังช่างก่อสร้างขี้เกียจอ้อม ใช้รถขุดสร้างทางลัด

เผยสาเหตุ "ซาล่าห์" ย้ายไปซาอุฯ ไม่ได้เพราะสัมพันธ์การทูต